top of page

          ศูนย์ไตเทียมโดย  โรงพยาบาลศิริเวชลำพูน

 

Screen Shot 2015-09-11 at 11.57.36_edited

Screen Shot 2015-09-11 at 11.57.36_edited

Medicine Kit

Medicine Kit

IMG_4117

IMG_4117

Taking blood pressue

Taking blood pressue

Taking the pulse of an older patient

Taking the pulse of an older patient

Blood pressure reader

Blood pressure reader

Senior Citizen Exercise Class

Senior Citizen Exercise Class

Screen Shot 2015-09-11 at 10.33.39_edited

Screen Shot 2015-09-11 at 10.33.39_edited

                    ไตวายเรื้อรัง (Chronic kidney disease/CKD)

เป็นโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขโรคหนึ่ง ซึ่งจำนวนผู้ป่วยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โรคไตเรื้อรัง แบ่งเป็น 5 ระยะตามระดับอัตราการกรองของไต หรือ อัตราการทำงานของไต (Estimated Glomerular filtration rate/eGFR))

  • ระยะที่ 1ไตมีพยาธิสภาพโดยที่ยังมีค่า eGFR มากกว่าหรือเท่ากับ 90 ซีซี/ลูกบาศก์เซนติ เมตร (CC/Cubic centrimetre) ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตารางเมตร
  • ระยะที่ 2, 3, 4 เป็นระยะที่ไตมีพยาธิสภาพ โดยมีค่า eGFR น้อยกว่า 90, 60, 30 ซีซี ต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73ตารางเมตร ตามลำดับ
  •  ระยะที่ 5 หรือโรคไตระยะสุดท้าย (End stage kidney disease) มีค่า eGFR น้อยกว่า 15 ซีซีต่อนาทีต่อพื้นที่ผิวกาย 1.73 ตารางเมตร เป็นระยะที่จำเป็นต้องรักษาโดยการทดแทนไต (Renal replacement therapy หรือ Chronic renal replacement thera py/CRRT) ด้วยการล้างไต (Kidney dialysis หรือ Renal dialysis) หรือ การเปลี่ยนไต(การผ่า ตัดปลูกถ่ายไต/Kidney transplantation)
 

                    โดยโรคไตเรื้อรังระยะแรกๆ ผู้ป่วยจะยังไม่มีอาการ ต่อมาเมื่อผู้ป่วยมีการเสื่อมของไตมากขึ้นโดยเฉพาะโรคไตเรื้อรังระยะที่ 4 หรือระยะที่ 5 จะมีภาวะแทรกซ้อน/ผลข้างเคียง ได้แก่ โลหิตจาง/ซีด ภาวะความดันโลหิตสูง มีความผิดปกติของสมดุลน้ำและเกลือแร่ มีการคั่งของของเสีย ทำให้ผู้ป่วยมีอาการบวม มีภาวะน้ำท่วมปอด ปัสสาวะออกน้อยลง มีอาการอ่อนเพลีย หอบเหนื่อย คลื่นไส้อาเจียน ไม่อยากอาหาร ในบางรายอาจมีอาการทางระบบประสาท เช่น อาการซึม หรืออาการชัก รวมทั้งผู้ป่วยมีโอกาสเสียชีวิตได้สูงขึ้น

ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มีภาวะแทรกซ้อนจะมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดซึ่งพบว่า เป็นสาเหตุหลักของการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง

                   การฟอกเลือด

การฟอกเลือดเป็นการนำเอาของเสียและน้ำส่วนเกินออกจากเลือดของผู้ป่วย การฟอกเลือดมี 2 ประเภท คือ การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) และการฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร (continuous ambulatory peritoneal dialysis: CAPD)

               การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis)

การฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (hemodialysis) เป็นการนำของเสียและน้ำออกจากเลือด โดยเลือดจะออกจากตัวผู้ป่วยทางเส้นเลือดดำ แล้วผ่านตัวกรองซึ่งในตัวกรองจะมีเนื้อเยื่อที่จะช่วยกรองของเสียและน้ำออกจากเลือด เมื่อเลือดผ่านตัวกรองแล้วจะกลายเป็นเลือดดี เครื่องจะนำเลือดนั้นกลับสู่ร่างกาย ในการฟอกเลือดแต่ละครั้งต้องใช้เวลาประมาณ 3-4 ชม. หรือมากกว่า และต้องทำการฟอกเลือดอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง

         

ก่อนการฟอกเลือดต้องมีการทำการตัดต่อเส้นเลือดเพื่อใช้ในการฟอกเลือด ซึ่งมี 3 วิธีคือ

  • การนำเส้นเลือดดำต่อกับเส้นเลือดแดงบริเวณแขนหรือเรียกว่าการทำ AV fistula เพื่อให้เส้นเลือดดำใหญ่ขึ้น และมีแรงดันพอที่จะทำให้เลือดไหลเข้าสู่เครื่องไตเทียมได้
  • การต่อเส้นเลือดดำกับเส้นเลือดแดงของผู้ป่วยโดยการใช้เส้นเลือดเทียมหรือ AV graft
  • การใส่สายเข้าไปในเส้นเลือดดำขนาดใหญ่เพื่อไว้สำหรับต่อกับเครื่องไตเทียม วิธีการนี้เป็นการทำแบบชั่วคราว

การฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร (Continuous ambulatory peritoneal dialysis: CAPD)

การฟอกไตทางช่องท้องแบบถาวร คือ การล้างช่องท้องด้วยน้ำยาเพื่อกรองของเสียในร่างกายออกโดยการใส่น้ำยาเข้าไปในช่องท้องผ่านทางท่อ ซึ่งท่อนี้ต้องทำการฝังเข้าไปในช่องท้อง วิธีนี้สามารถทำที่บ้านหรือที่ทำงานได้และต้องทำทุกวัน มีการเปลี่ยนน้ำยา 4–5 ครั้ง/วัน ผู้ป่วยสามารถเลือกเวลาทำเองได้ โดยผู้ป่วยหรือผู้ช่วยเหลือต้องเรียนรู้วิธีการทำด้วย 

                    โรงพยาบาลศิริเวชลำพูน เปิดให้บริการฟอกไตมาเป็นเวลามากกว่า 10 ปี ปัจจุบันได้มีการเพิ่มขยายเตียงสำหรับฟอกไตจากเดิม 6 เตียง เป็น 20 เตียง เปิดให้บริการสำหรับประชาชนทุกสิทธิ์การรักษา เวลาการให้บริการคือ วันจันทร์ – เสาร์

รอบที่ 1: เวลา 06.00 -11.00น.

รอบที่ 2: เวลา 11.00 -16.00น.

รอบที่ 3: เวลา 16.00 -21.00น.

bottom of page